ช่วงเช้าก็ไม่มีไร แม็กซิมวาดสถานที่ นานาวาดคนใส่สไลด์ เอาให้ที่ปรึกษาดูและลองพรีเซ้น พบว่ามันยาว ก็ยุบอันที่ซ้ำซ้อนกันออก เอาข้อความที่เขียนกันไว้ตอนแรกออกใส่ภาพเพื่อช่วยเล่าแทน แค่นี้ก็หมดช่วงเช้าละ ช่วงบ่ายมีเวลาถึงบ่ายสี่ให้พิชต์ กลุ่มนี่ก็ ซ้อม เกลา ซ้อม เกลา ประมาณสองสามที บางทีนี่ก็จะมีแบบสวมบทบาทเป็นอาจารย์ด้วยว่าฟังแล้วอาจเกิดคำถามอะไร ก็มาเกลากัน แต่จะไม่มีการล่มคิดใหม่ ต้องคิดต่อจากอันเดิมและทราบว่าเราทำงานบนข้อจำกัดอะไร

พอใจแล้วก็หยุด เอาเสร็จก่อนเวลาชั่วโมงนึง (แบบตันแล้ว บ่ไหวแล้วจ้า) ก็นั่งเม้ามอยเรื่องอื่นๆ ฆ่าเวลาไป

แอบสังเกตว่ากลุ่มเราจะทำเร็วกว่าชาวบ้าน เลิกเรียนกลับบ้านตลอดไม่มีต่อเวลา และคิดว่างานก็เมคเซ้นมากๆ ส่วนหนึ่งเพราะที่เล่ามาทั้งหมด เราตกลงกันว่าจะทำให้เห็นภาพรวมก่อนแล้วค่อยวนมาเกลาเป็นรอบๆ ไป

ไม่รู้หรอกมันเรียกอะไรวิธีนี้ คือเอา Sprint / Agile / Scrum มารวมๆ กัน เหนือสิ่งอื่นใดคือในกลุ่มจะมีความที่ผลัดกันเป็น Time Keeper / Facilitator โดยธรรมชาติ แบบพอคุยกันจบก็จะมีโมเม้งระลึกได้ว่า เอ๊ะเราอยู่ตรงไหนของ Process ทั้งหมดแล้วนะ ขั้นตอนนี้จบยัง ขาดเหลืออะไร ไปต่อเลยไหม ทำให้งานถึงไอเดียแตกแลกเปลี่ยนไอเดียยังไง มันก็จะไม่ใช่การคิดใหม่ รีเซ็ทใหม่ มันเป็นงานที่ลื่นไหลไปตามบริบทใหม่ๆ ที่สังเกตได้ระหว่างการทำงาน

อีกอย่างคนในกลุ่มจะค่อนข้างเป็นคนไม่ค่อยชี้นำด้วย คือฟัง ฟังละเออ คิดไง อย่างตอนแรกรุจีเค้าจะไม่ค่อยมั่นใจเพราะเค้ารุสึกว่า นานากับแม็กซิมเรียนออกแบบมา (ส่วนเค้าเรียนวิทยาคอม มาแลกเปลี่ยน) เค้าจะเป็นประโยชน์มั้ย แต่พอคุ้นเคยกันแล้วเค้าก็ Contribute ตลอดในมุมที่เค้าทำได้ และเค้าก็ดูเกทว่าจังหวะนี้เฟรมของงานคืออะไร ทำอะไรกัน

อีกอย่าง ทั้งแม็กทั้งนานา เป็นพวกที่จดทุกอย่างที่กำลังคุยลงสมุดหมดเลย (จดเป็นรูปด้วย) เลยไปไล่ย้อนได้ว่าเรื่องไหนคุยกันไปแล้ว เรื่องไหนเข้ามาตอนไหน เรื่องไหนต่อจากเรื่องไหน

แฮปปี้กะกลุ่มตัวเองมาก พอถึงเวลาพรีเซ้นก็เลยชิวๆ มีอาจารย์อิตาลีกับที่ปรึกษาของภาควิชามาฟัง อาจารย์อิตาลีจะคอมเม้นในมุมมองของการพรีเซ้นงานว่าฟังรู้เรื่องมั้ย ฟังแล้วเบื่อมั้ย ฟังแล้วคนฟังรู้สึกยังไง ส่วนหัวหน้าภาคก็ถามแนวๆ มันเมคเซ้นยังไง จุดประสงค์ของการเลือกนำเสนอสิ่งเหล่านี้มีที่มาจากอะไร

กลุ่มเรารวมๆ ก็คือดี มีคอมเม้นเรื่อง