วันนี้แต่ละคนในกลุ่มเอา Emotional Map ของตัวเองมาแชร์กัน

อื่นๆ ที่สังเกตได้ร่วมกันคือ คนที่เกษียณแล้วเคว้ง เป็นเพราะที่ฝรั่งเศส คนมีตัวตนจากงานที่ทำ พอไม่ทำงานก็เหมือนไม่มีค่าไปโดยปริยาย จะต่างจากที่ไทยกับอินเดียตรงตัวตน (identity) มาจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเป็นส่วนใหญ่

สรุปของทุกคนเป็นก้อนๆ ได้ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนต่อไปคือต้องเสนอหลักคิดในการหาวิธีแก้ปัญหาสองหลัก ทำขั้นตอนคล้ายๆ เดิม คือระดมของทุกคนลงมาก่อน แล้วนั่งเลือก ไอเดียที่โผล่มาได้แก่

เชียร์คนแก่ชายให้เตรียมตัวไวขึ้นสนับสนุนคนแก่หญิงให้อยู่กับตัวเองคนเดียวได้สนับสนุนคนแก่ที่ยังไม่แก่มากให้เตรียมตัวแต่เนิ่นๆ

เอาทั้งสามก้อนมาเคี่ยวอีกที ได้นิยามร่วมกันว่า การเรียนรู้วิถีชีวิตใหม่ในวัยชรา (Learning new habit when getting old) ทำให้เกิดคำถามใหม่อีกว่า แล้วในบรรดาโครงการบ้านทางเลือกที่คนเสนอเข้ามาให้คนสูงวัย อะไรที่คนมักถาม มักลังเลใจ ซึ่งอาจหมายถึงเรื่องนั้นๆ อาจจะยากสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งในเรื่องนี้เรายก Co-Housing Concept มาคิดกันว่าทำไมคนถึงลังเล / คำถามหลักๆ คือ “คนสูงวัยไม่มั่นใจที่จะอยู่กับคนที่ไม่รู้จักกันดีในระยะยาว” การทำ Co-Housing สำหรับคนชราให้เวิร์ค แพลตฟอร์มกลางจึงต้องช่วยในเรื่องความเชื่อใจด้วย

ลำดับถัดไปก็มาคิดว่าในโครงการนี้มี Actor เป็นใครทำอะไรบ้าง

เจ้าของ ของบางสิ่งที่แชร์หรือแบ่งให้คนอื่นมาใช้ได้ (เช่น เจ้าของบ้าน)ผู้ให้เช่าผู้แชร์ เช่นคนที่จะย้ายมาอยู่บ้านคนที่มีบ้านอยู่แล้วครอบครัวของคนสูงวัย แต่ในที่นี้คือเราแอบเบลอๆ เพราะในความเป็นจริงถ้าคาดหวังแล้วไม่ได้มันจะสร้างความช้ำใจให้คนแก่หนักไปกว่าเดิมคนกลาง ซึ่งอาจเป็น เมือง บริษัท เทศบาล ที่ช่วยคนชราจัดการสิ่งยุ่งยากให้ง่ายขึ้นสังคม ซึ่งมีบทบาทได้ในเรื่องมุมมอง ความคิด เชปความคิดสังคมที่มีต่อผู้สูงอายุ

พอมี Actor ก็มีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง Actor กลุ่มต่างๆ คนที่เป็นผู้ให้เช่าผู้แชร์ก็ต้องจัดการเรื่องความสัมพันธ์ในฐานะเจ้าของ จะให้พื้นที่ส่วนตัวกับตัวเองมากขนาดไหน แต่ก็แขวนไว้ กลับมาที่เรื่องการเรียนรู้วิถีชีวิตใหม่ในวัยชรา (Learning new habit when getting old) คิดว่ามีเรื่องอะไรต้องเรียนรู้จริงๆ คือ