วันนี้ลงฟิลด์ทำมินิสัมภาษณ์ เอาคำถามที่เตรียมเมื่อวานมาลองถาม สองสามคน พบว่าพอเปิดมาเรื่องเราเป็นนักษากำลังศึกษาเรื่องบ้านพักคนชรา คนก็จะไม่อยากคุยด้วยแล้ว ดังนั้นอย่าถามว่าคิดไงอยากให้เป็นแบบไหนเลย แค่คิดว่าต้องคิดถึงบ้านพักคนชราก็ก๋อยละ

เลยเดินไปดูบ้านพักคนชรากัน (ที่ใช้คำว่าเนิสสิ้งโฮม) แน่นอนว่าคุยกะใครบ่ได้แต่เจ้าหน้าที่ก็พาเดินทัวร์อย่างดี คือฟาสิลิตี้มันดีนะ อารมณ์เหมือนอยู่ในโรงแรมไอบิสที่ทุกอย่างสะอาดและสะดวกปลอดภัย แต่เรากะคนอินเดียออกมาก็บ่นเลยว่ามันตอบโจทย์ทุกอย่างทางร่างกาย (การกิน นอน ความปลอดภัย การแพทย์) แต่แห้งแล้งทางอารมณ์มาก เพราะความสัมพันธ์ในนั้น มันมีความเป็นผู้ให้บริการกับลูกค้า พนักงานก็คือดีอะยิ้มแย้มแจ่มใสแต่จะรู้สึกว่าเป็นความยิ้มแย้มในฐานะของการทำอาชีพ (คนหน้าหงิกๆ ก่มี) ละระหว่างคนชราด้วยกันเองก็ไม่ค่อยมีคนคุยกัน

เลยไปที่บาร์ต่อเผื่อพบอะไรน่าสนใจ มีตาลุงคนนึงจิบไวน์แต่หัววันเลยเข้าไปคุย รอบนี้เลิกถามอะไรเกี่ยวกับบ้านพักคนชราละ ถามเจ๊าะแจ๊ะแทน พบว่าตาลุงมาบาร์นี้ทุกวันต่อเนื่องกัน 18 ปีแล้ว ถามว่ามีอะไรที่ทำให้ติดใจก็คือมันดี มันเป็นที่ที่เค้ารุสึกคุ้นเคย ถามว่ารู้สึกเหมือนบ้านมั้ย เค้าก็บอกใช่ แต่พอถามถึงบ้านที่เป็นที่อยู่อาศัยจริงๆ ตาลุงดูเบื่อ ไม่อยากพูด ทำให้นึกถึงตอนถามคุณยายสองคนแรก เพราะทั้งสองคนก็ดูเลี่ยงที่จะพูดถึง 《บ้าน》ที่เป็นที่พักอาศัย

ถ้าบ้านที่เป็นบ้านไม่ให้ความรู้สึกถึงบ้าน เป็นไปได้ไหมที่ความเข้าใจเรื่องพื้นที่ทางเวลาของผู้สูงอายุเราจะเน้นผิดจุดทั้งหมด เพราะฟังชั่นของบ้านอาจจะหมายถึงที่กิน ที่อยู่ อยู่ๆ ไป แต่ที่ที่คนชรารู้สึกว่าได้ใช้ชีวิต อาจเป็นที่อื่น

อันนึงที่สังเกตก็คือ ที่บาร์ จะมีแต่แก๊งตาลุง ในขณะที่แก๊งคุณยายดูจะไปแฮงเอ้ากันในบ้านของตัวเองมากกว่า คุณยายสองคนแรกบอกว่าชั้นชอบเจอเพื่อนสาวของชั้น (Copine = เพื่อนผู้หญิง ส่วน copin / amis คือเพื่อน ผช หรือผสม) บริบทเรื่องเพศก็สำคัญเพราะคนวัยนั้นมาจากยุคที่สังคมแยกพื้นที่ทางเพศอย่างชัดเจน

ที่ตาลุงและคุณยายเมนชั่นถึงในเชิงมีฟามสุขคือการได้ทำอะไรกันคนอื่นในแง่ที่ตีความได้ว่า 《ทำแล้วสนุก》 เช่น สังสรรค์ เม้ามอย เล่นไพ่ ดูกีฬา แต่ในแง่ของทางเลือก สมมุติเรื่องเกม เราก็พบว่ามันมี ไพ่โป้กเก้อ สคริบเบิ้ล ครอสเวิร์ด แต่ไม่ค่อยมีคนคิดถึงเกมปาร์ตี้สำหรับคนสูงวัยเล่นในเวลาว่าง หรือถ้าจะทำให้บาร์มีอีเว้งที่สนุกสำหรับคุณสูงวัย มันจะเป็นยังไง

ทำไมเราถึงไม่มีคำว่า 《สนุก》เลย เวลาคิดถึงผู้สูงวัย (เราคิดถึง happiness joy แต่ทำไม่ไม่มีคำว่า fun?)

จินตนาการของ 《บ้าน》《พัก》《ผู้สูงวัย》 เลยดูเป็นอะไรที่เราเองก็ต้องรื้อเอง เช่น บางทีมันไม่ได้หมายถึงที่อยู่อาศัยในทางกายภาพเสมอไป การพักผ่อนก็ไม่ใช่การอยู่สงบๆ อย่างเดียวซะหน่อย

ช่วงบ่ายที่เมืองมีจัดเสวนา เรื่อง การสูงวัยในบ้านตัวเอง (จัดโดยสต้าทอัพที่พยายามทำทางเลือกในการหาบ้านหลังเกษียณสองสามเจ้า) ระหว่างรองานเริ่มก็เดินดูมุมเวิร์คชอปในงาน เราพบคำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับการ “เช่าบ้านแชร์” (Coliving) ต่างๆ ในมุมว่า《ไม่มีคำถามเชิงสุขภาพหรือความปลอดภัยเลย คำถามที่ถูกถามเป็นเรื่องสังคมและความสัมพันธ์ทั้งนั้น เช่น “ฉันต้องปรับความเคยชินทั้งหมดมั้ยเมื่ออยู่ในบ้าน coliving” “จำเป็นต้องกินข้าวพร้อมกันมั้ยถ้ายังไม่หิว” “ถ้าอยู่แล้วไม่ชอบคนที่อยู่ด้วยฉันเปลี่ยนได้มั้ย” “ถ้าฉันไม่ชอบประสบการณ์นี้ ฉันจะเลิกสัญญาได้ไหม”

เลยได้ความรู้ใหม่ว่า บ้านพักคนชราเป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้สูงวัยที่นี่ เพราะเมื่อเข้าไปแล้ว ทางออกมีทางเดียวคือสุสาน เนื่องจากราคาของเนิสสิ้งโฮมในฐานะบริการทางการแพทย์ แพงขนาดที่ สว. ต้องขายบ้าน แล้วเอาตังมาลงที่บ้านพักคนชรา พอไม่มีบ้านให้กลับ ก็ไม่มีทางเลือกอื่น

อีกประการหนึ่ง ถ้าไม่ได้แก่มากๆ ขนาดพึ่งพาตัวเองไม่ได้แล้ว ก็ต้องรอคิวนาน กว่าคนจะได้คิวก็คือ 85 คนส่วนมากในบ้านพักคนชราของรัฐใช้เวลาอยู่ในนั้นสองปี แล้วตาย

ในขณะเดียวกัน บ้านพักคนชราที่ขายความปลอดภัย ก็ต้องทำตัวเป็นโรงพยาบาลหรือคุก เพราะมีโอกาสมากๆ ที่ลูกหลานจะฟ้อง เมื่อมีสิ่งไม่คาดฝันเกิดกับพ่อแม่ หรือถึงแม้แต่ สว อยากตายในห้องตัวเอง ไม่อยากไปตายที่ รพ. ถึงอย่างนั้นบ้านพักก็ต้องส่งไปตายที่ รพ. เพราะเดวจะโดนฟ้องเอา

การออกแบบบริการหรือทางเลือกใดๆ มิติด้านเศรษฐกิจและลักษณะของสัญญา-กฎหมายก็สำคัญมาก เพราะบ้านเกษียณเป็นโครงการด้านการลงทุนที่ราคาไม่เบา และคนทำเพราะไม่อยากเป็นภาระของลูกหลาน แต่สัญญาที่มีอยู่นั้นมักไม่ครอบคลุมเรื่องความพึงพอใจ ตราบใดที่มีที่นอน มีพยาบาล มีกิจกรรม มีข้าว มีความปลอดภัย ไม่พอใจเฉยๆ อยากย้ายออกก็ได้แต่ไม่ได้เงินมัดจำที่เป็นเงินก้อนสุดท้ายคืน

พอคอนเฟอเร้นเริ่ม ก็ได้เข้าใจมากขึ้นว่าที่โรงเรียนให้ทำเรื่องนี้กะเมืองนี้เนี่ย เพราะ La Chapelle sur Erdre ซึ่งเป็นชานเมืองตอนเหนือของ Nantes (อารมณ์ตำนลซักตำบลในนนทบุรี) มีโครงการจะพัฒนาเมืองให้เป็นที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ของวัยเกษียณในอีกสองปีข้างหน้า คนที่มาฟังคอนเฟอเร้นเป็นคนสูงวัยที่อาศัยในเมืองนั้น มีกลุ่มที่จำแนกคร่าวๆ จากลักษณะคำถามที่เขาถามวิทยากรได้ว่า

รายละเอียดคำถามมีต่อไปนี้

กลุ่ม A) เป็นคนแก่ ที่อยากจะทราบข้อมูลเรื่องบ้านพักคนชรา เพื่อวางแผนให้ตัวเองล่วงหน้า : มีตัวแทนบ้านคนชราสามกลุ่มมาพูดและมีคนที่อาศัยในแต่ละที่มาร่วมรีวิว และถามตอบให้คนที่สนใจจะย้ายไปอยู่บ้านพักวัยเกษียณ วงนี้ทำให้เราเห็นว่า คำว่า <<คนชรา>> จริงๆ ก็มีซับเซทย่อยเป็นหลายกลุ่มมากๆ และแต่ละกลุ่มก็ต้องการที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ต่างกัน

อย่างถ้าแก่ แต่ไม่แก่มาก สามารถพึ่งตัวเองได้ เค้าก็อาจจะมองหา “บ้านเช่าที่สะดวกสำหรับคนแก่” คือยังเป็นบ้านส่วนตัวที่อยู่กันเอง ไม่มีเจ้าหน้าที่มาอยู่ด้วย แต่ความสะดวกสบายในบ้านจะได้มาตรฐาน ไม่มีบันไดสูง มีอ่างอาบน้ำขอบเตี้ย มีสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นกับวัยนั้น และอาจจะเช่าร่วมกับคนแก่คนอื่นๆ ก็ได้