ภาษาอังกฤษด้านล่าง ภาษาไทยด้านบน

ไดอะรี่ : หลังเรียนเช้าวันนี้ในโพสล่างๆ ช่วงบ่ายก็ได้จับกลุ่มสามคนมาตกลงตีมหรือ insight ว่ากลุ่มเราจะเฟรมการสัมภาษณ์คนเรื่อง 《ไอเดียบ้านสำหรับคนวัยเกษียณในชุมชน La Chapelle sur Erde》สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย แม็ก (โมนาโก) รุจี้ (อินเดีย) นานา (ไทย)

ไอเดียยกแรก คือ มีอะไรที่ทำให้ สว (สูงวัย) ไม่เลือกไปบ้านพักคนชรา, ชุมชนแบบไหนที่จะทำให้ สว รู้สึกว่าชีวิตก็ปกติดีหนิ มันควรจะเป็นชีวิตที่ได้เจอคนทั่วไปหลายวัยหลายแบบมั้ยไม่ใช่แค่คนวัยเดียวกัน

ระหว่างปั้นไอเดียก็จะได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริบทคนฝรั่งเศสด้วย เช่น คนที่นี่มองว่าการเกิดและการตายเป็น medical event ไม่ใช่ family event

แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการถามเพื่อยืนยันในสิ่งที่เราน่าจะรู้อยู่แล้ว ก็มาคิดกันใหม่ว่า ความสนใจ/ความคุ้นชินของเค้าคืออะไร มีเรื่องอะไรที่คนสูงวัยชอบทำ มีองค์ประกอบอะไรในชีวิตที่ต้องมี อะไรทำให้ สว แฮปปี้กับตัวเอง / ชุมชนที่เป็นที่ตั้งโครงการบ้านวัยเกษียณมีความพิเศษอะไร

ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมก็คือ บ้านพักคนชราราคาไม่ได้ถูก การไปอยู่บ้านหลังใหม่ในวัยเกษียณมีมิติของการลงทุนแบบหนึ่งที่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า

คนวัยเกษียณอาจจะหยุดผลิตในมุมแรงงาน แต่ในมุมเศรษฐกิจ งานของคนวัยเกษียณคือบริหารเงินบำนาญของตัวเอง ทีนี้ก็เลยเกลาคำถามใหม่ว่าแต่ละคนสนใจมิติอะไร

แม็กสนใจว่า ถ้า สว ไปบ้านพักคนชรา พวกเขาจะคิดถึงอะไรในชีวิตปกติบ้าง / คนสูงวัยเคลื่อนที่ในเมืองที่เป็นเมืองอย่างไร / ความสัมพันธ์ระหว่าง สว กับสัตว์เลี้ยง / ชีวิตประจำวัน อยากทำอะไรคนเดียว ทำอะไรกับคนอื่น

รุจี้สนใจว่า บรรยากาศแบบไหนที่ สว จะรู้สึกดีด้วย (ในมุมสถาปัตยกรรมและแมททีเรียลต่างๆ) / การเสื่อมทางร่างกายมีอะไรบ้าง เมืองที่ สว ใช้ชีวิตควรคิดถึงอะไร / มุมมองต่อมิตรภาพและเพื่อนเป็นยัง

นานาสนใจเรื่อง สว บาล้านพื้นที่ส่วนตัวกะส่วนรวมยังไง / สว ใช้บริการอะไรบ้างในชีวิตประจำวัน และมีอะไรที่ยังไม่มีหรือควรจะมี / มุมมองต่อ สุขภาพ การรักษา โรงพยาบาล การดูแลตัวเอง เป็นยังไง

ระหว่างนี้ก็ได้ข้อมูลใหม่ว่ามีคนทำโครงการเรื่องบ้านในนิยามต่างๆ อย่างไร เช่น Cohousing community / ความเหงาเป็นปัญหาสุบภาพ / สถาปัตยกรรมที่ทำให้คนมีโอกาสพบปะคนอื่นมากขึ้น / บ้าน สว แบบสบายๆ หรูหราในประเทศกำลังพัฒนา / เปเป้อของ who

ดังนั้นโปรเจกต์ที่จะคิดในเวลาอันสั้น (วีคนี้) ไม่ใช่แค่ตัวบ้าน แต่หมายถึง a way that people live and connect to each other (both individually and collectively )

ถึงตรงนี้ก็จะเริ่ม skeptic นิดนึง เพราะก็รู้สึกว่าความพยายามที่จะให้มนุษย์มาปฏิสัมพันธ์กันผ่านสถาปัตย์หรือค่านิยมของชุมชน บางทีมันก็มีแง่มุมที่ฝืนๆ หรือแมททีเรียลบางอันเช่นทอล์คในเท็ด มันดูค่อนข้างชวนเชื่อแปลกๆ หรือกูไม่อินเองก็ไม่แน่ใจ (อาจเพราะในเอเชีย วัยรุ่นเรารู้สึกว่าถูกบังคับให้ต้องเข้าสังคม?)

กลับมาที่งาน คือพรุ่งนี้มีเวลาน้อยมาก การดักถามคนบนถนนสิบห้านามี น่าจะถามได้แค่ไม่กี่คำถาม เลยช่วยกันลิสต์ๆ มาดังนี้

ตรงนี้ทำให้รู้ตัวว่าฉันติดนิสัยถามคำใหญ่มาก ทำไมไม่ถามให้มันง่ายๆ ถ้ามันง่ายได้ เดวต้องฝึกในเรื่องนี้

ถ้าเวลาเหลือหรือขาดแง่มุมไหนที่ลิสมาก่อนหน้านี้ค่อยถามตรงนั้นเพิ่ม / ช่วงบ่าย นร ที่ฟัง ฝ ได้จะไปฟังเสวนาเรื่อง อนาคตของเมือง ส่วน นร ที่ฟัง ฝ ไม่ได้น่าจาสำรวจเมืองเพื่อหาแง่มุมน่าสนใจในสายตาชาวต่างชาติ